เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มนสิกโรติ แปลว่า กระทำไว้ในใจ. คำที่เหลือ แม้
ในสูตรทั้งสองนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในสูตรที่ 3. ก็ภิกษุใด
ย่อมเสพ ภิกษุนี้แหละชื่อว่า ย่อมเจริญ ภิกษุนี้ชื่อว่ากระทำในใจ.
ภิกษุย่อมเสพด้วยจิตใด ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยจิตนั้นนั่นแล ชื่อว่า
ย่อมทำไว้ในใจด้วยจิตนั้น. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยลีลาแห่งเทศนา เพราะทรงแทงตลอดธรรมธาตุใด
ทรงอาศัยลีลาแห่งเทศนา 1 ความเป็นใหญ่ในธรรม 1 ความฉลาด
ในประเภทแห่งปฏิสัมภิทา 1 พระสัพพัญญุตญาณอันไม่ติดขัด 1
ของพระองค์ เพราะทรงเป็นผู้แทงตลอดธรรมธาตุนั้น จึงทรงจำแนก
แสดงจิตดวงเดียว ซึ่งเกิดขึ้นในขณะเดียวเท่านั้น โดยส่วนทั้ง 3.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เยเกจิ เป็นคำกำหนดไม่แน่นอน. บทว่า อกุสลา
เป็นคำกำหนดแน่นอนแห่งอกุศลเหล่านั้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้
อกุศลธรรมทั้งหมด เป็นอันกำหนดเอาโดยไม่เหลือ คำว่า อกุสล-
ภาคิยา อกุสลปกฺขิกา
นี้ เป็นชื่อแห่งอกุศลธรรมทั้งนั้น. จริงอยู่

อกุศลนั่นแล บางพวกเป็นอกุศลจิต ด้วยอำนาจเป็นสหชาตธรรม
(เกิดร่วมกัน) บางพวกเข้ากันได้ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย และ
เป็นฝักฝ่ายของอกุศลธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เป็นส่วนแห่งอกุศล เป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล.
บทว่า สพฺเพเต มโนปุพฺพงฺคมา ความว่า ใจเป็นหัวหน้า
คือถึงก่อนแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า
มีใจเป็นหัวหน้า. จริงอยู่ธรรมเหล่านั้น เกิดพร้อมกัน มีวัตถุอันเดียว
กัน ดับพร้อมกัน และมีอารมณ์เป็นอันเดียวกันกับใจก็จริง ถึง
กระนั้น เพราะเหตุที่ใจยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้น ให้กระทำให้เกิด
ให้ตั้งขึ้น ให้บังเกิด ฉะนั้นธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มีใจเป็นหัวหน้า.
บทว่า ปฐมํ อุปฺปชฺชติ ความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พระราชา
เสด็จออกไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะพึงกล่าวว่า ทัพพระราชาที่เหลือ
ออกไปแล้วหรือยังไม่ออกไป เขาย่อมรู้กันทั่วว่า ทัพพระราชา
ออกไปหมดแล้ว ฉันใด ใจก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีเหตุที่จะพึง
กล่าวว่า จำเดิมแต่เวลาที่เขากล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว ธรรมที่เหลือ
เกิดร่วมกัน ระคนกัน ประกอบกัน เกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิดขึ้น
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมปรากฏว่า เกิดขึ้นแล้วทั้งนั้น อาศัยอำนาจ
แห่งประโยชน์นี้ ใจที่ระคน ที่ประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แม้จะเกิด
พร้อมกัน และดับพร้อมกัน ท่านก็เรียกว่าเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น.
บทว่า อนฺวเทว แปลว่า ตามกัน ร่วมกัน อธิบายว่า พร้อม
กันทีเดียว. แต่ครั้นถือเอาเค้าแห่งพยัญชนะ ไม่ควรถือว่า จิตเกิด
ก่อน เจตสิกเกิดทีหลัง. จริงอยู่ อรรถคือความเป็นที่อาศัยของ

พยัญชนะทั้งหลาย แม้ในคาถาว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา
มโนมยา
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
กุศลธรรมแม้เป็นไปในภูมิ 4 ท่านกล่าวว่า กุศล. คำที่เหลือ
พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ 6 นั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภิกฺขเว ในคำว่า ยถยิทํ ภิกฺขเว ปมาโท นี้ เป็นอาลปนะ
ความว่า ยถา อยํ ปมาโท เหมือนความประมาทนี้. บทว่า ปมาโท
ได้แก่ อาการคือ ความประมาท. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในธรรมเหล่านั้น ความประมาทเป็นไฉน ? ความปล่อยจิต การ
สนับสนุนความปล่อยจิตในกามคุณ 5 ด้วยกายทุจจริต ด้วยวจี
ทุจจริต หรือด้วยมโนทุจจริต หรือการการทำโดยไม่เคารพ ความ
กระทำไม่ติดต่อ ความทำอันหาประโยชน์มิได้ ความประพฤติ
ย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ